บ้านสำหรับคนที่รักธรรมชาติและความสงบในขุนเขา

วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ที่พักบรรยากาศริมน้ำในหุบเขาที่พักใกล้กังหันลมห้วยบง แหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าจากกังหันลมห้นที่ใหญที่สุดในประเทศไทย

ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาธุรกิจพลังงานไฟฟ้าได้เข้ามามีบทบาทในพื้นที่รอยต่อ 4 จังหวัดในภาคอีสานได้แก่ อำเภอสีคิ้ว อำเภอ ด่านขุนทด เทพารักษ์ ในจังหวัดนครราชสีมา และในเขตอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ โดยเฉพาะ ตลอดข้างแนวถนนทางหลวงแผ่นดินเลขที่ 2256 ช่วงหลักกิโลเมตรที่ 38-50 มีความสวยงามของขุนเขาทิวทัศน์และทุ่งกังหันลม ผลิตกระแสไฟฟ้าหมุนอย่างช้าๆๆทุกๆๆวันซึ่งตอนนี้ บ้านห้วยบง อำเภอด่านขุนทดเป็นตำบลที่มีเศษฐกิจที่ดีมากอีกตำบลหนึ่งเนื่องจากหารไหลเข้ามาของแรงงานต่างพื้นที่ที่ต้องการมาทำงานในภาคธุรกิจการพลังงานและการท่องเที่ยวด้วย พื้นที่โดยรวม เป็นหุบเขาป่าต้นน้ำในเขตของป่าดงพญาเย็นที่ยังคงวามสมบูรณืของธรรมชาติไว้เกือบ 100% ทำให้พื้นที่เหล่านี้ยังคงไว้ซึ่งวิถีชีวิตแบบชนบทดั้งเดิมอยู่การเข้ามาท่องเที่ยวพักผ่อนในเส้นทางหลวงแผ่นดินเส้นนี้สามารถใช้เป็นจุดศูนย์กลางการท่องเที่ยวเพื่อไปยังกังหันลมขนาดยักษ์เกือบร้อยต้น เน้นว่า "เกือบร้อยต้น" เรียงรายอยู่บนพื้นที่กว่า 5,000 ไร่ ซึ่งแต่เดิมพื้นที่บริเวณนี้จะเป็นพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังของชาวบ้านห้วยบง อำเภอด่านขุนทด  จังหวัดนครราชสีมา และในอนาคตจะถูกพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นแห่งหนึ่งของโคราชแน่นอน  ทุ่งกังหันลมแห่งนี้ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า

“โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานลม เวสต์ ห้วยบง 2 และ เวสต์ ห้วยบง 3"
     โครงการนี้เป็นโครงการของบริษัทเอกชน โดยในการพัฒนาโครงการนั้น ได้ให้ความสำคัญและคำนึงถึงชุมชนและผลกระทบต่อชุมชนเป็นสำคัญ รวมถึงการเคารพกฎระเบียบข้อบังคับและกฎหมายต่างๆ เพื่อพัฒนาโครงการดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้จริง ผลจากการสำรวจได้รับการตอบรับ ความร่วมมือและการสนับสนุนอย่างดียิ่งจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพลังงาน, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ), สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (สปก.) รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับชุมชน อำเภอ จังหวัด จนถึงระดับประเทศ ตลอดจนผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่
ทางเข้าเป็นถนนตัดใหม่ยังไม่ลาดยาง ฝุ่นจะเยอะซักหน่อย
ยิ่งเข้าใกล้ กังหันยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
มีนักท่องเที่ยวมาถ่ายวิวอยู่เรื่อยๆ
     ด้วยวิสัยทัศน์และความตระหนักดีว่า พลังงานโดยเฉพาะพลังงานจากน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือเชื้อเพลิงฟอสซิลนับวันจะหมดสิ้นไป พลังงานในอนาคตที่จะมาทดแทนพลังงานเหล่านี้มีหลายชนิด รวมถึง “พลังงานลม” ซึ่งใช้กันแพร่หลายทั่วโลก และประเทศไทยเองก็มีศักยภาพที่จะพัฒนาพลังงานลมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมจึงได้กำเนิดขึ้น จากการศึกษา วิเคราะห์ คิดและพัฒนา รวมถึงศึกษาพื้นที่ที่มีศักยภาพพลังงานลมเพียงพอในการผลิตกระแสไฟฟ้าและไม่ขัดต่อกฎหมายทางด้านที่ดิน  ไม่ไกลต่อจุดเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงง่ายต่อการขนส่งอุปกรณ์กังหันลมที่มีขนาดใหญ่ และที่สำคัญเป็นพื้นที่ที่ชุมชนชาวบ้านให้การสนับสนุนและมีทัศนคติที่ดีต่อโครงการฯ จากการศึกษาพบว่า ตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด และตำบลหนองแวง อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา มีคุณสมบัติเหมาะสม จึงได้กำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งโครงการ
กังหันลมจำนวน 90 ต้น
รายละเอียดเบื้องต้นของโครงการ
     มูลค่าโครงการประมาณ 13,000 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการ 25 ปี ที่ตั้งโครงการเป็นพื้นที่ในเขตปฏิรูปที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) พื้นที่เป็นที่ราบสูง สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 300 เมตร ค่าเฉลี่ยความเร็วลม  6.2 เมตร/วินาที 
พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ประมาณ 350 ล้านหน่วยต่อปี
ความสูงของกังหันลม 99.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของใบพัด 101 เมตร
ดูขนาดของรถเทียบเอาแล้วกัน ว่ากังหันใหญ่ขนาดไหน แล้วมีขนาดเท่ากันหมด 90 ต้น
จุดเด่นของโครงการ
-    ทุ่งกังหันลมขนาดใหญ่แห่งแรกของประเทศไทย
-    มีกำลังการผลิตสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
 
ประโยชน์ของโครงการ 
-    สนับสนุนนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน และเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ
-    มีกองทุนพัฒนาไฟฟ้าตามนโยบายของภาครัฐ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนรอบโครงการให้ดียิ่งขึ้น
-    ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 270,176 ตันต่อปี
-    ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล(น้ำมัน)เพื่อผลิตไฟฟ้าได้ปีละประมาณ 96.4 ล้านลิตร เป็นเงินประมาณ 2,040 ล้านบาท
-    ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และการคมนาคมของชุมชนได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้น ซึ่งช่วยให้การขนส่งผลผลิตทางการเกษตรสะดวกสบายยิ่งขึ้น
-    การจ้างงานในท้องถิ่นเพิ่มขึ้นทำให้การกระจายรายได้ในท้องถิ่นดีขึ้น
-    สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจชุมชนเจริญเติบโต ส่งผลให้ความเป็นอยู่ของชุมชนดีขึ้น
การเดินทาง
     ทุ่งกังหันลมห้วยบง อยู่ห่างจากอำเภอด่านขุนทดประมาณ 40 กม. จากกทม.ใช้เส้นทางถนนพหลโยธิน มุ่งหน้าสระบุรี เมื่อถึงแยกพุแค ให้เลี้ยวขวาเข้าถนนสาย 21 ผ่านเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ถึงแยกม่วงค่อม ให้เลี้ยวขวาเข้า ถนน 205 ผ่าน อ.ท่าหลวง ให้ใช้เส้นทาง2256 ขับตามถนน 2256 ผ่าน อีกประมาณ 51 กม. จะถึง ทุ่งกังหันลมห้วบบง จะเห็นกังหันลมอยู่ด้านซ้ายมือในระยะไกลๆ โดยทางเข้าทุ่งกังหันลมห้วยบง ให้เลี้ยวซ้ายตรงสี่แยกเข้าอบต.ห้วยบง ก่อนถึงแยกจะผ่านป่าไม้ด่านขุนทด
     เส้นทางที่ 2 จากกทม.ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 พหลโยธิน เมื่อถึงสระบุรีให้ใช้ทางหลวงหมาย 2 ถนนมิตรภาพ ผ่าน อ.ปากช่อง เมื่อถึงอ.สีคิ้วให้เลี้ยวขวาเข้าถนน 201 จากนั้นขับตรงไปเรื่อยๆ จนถึงเส้นตัดถนน 2256 ให้ขับตรงเข้ามาทาง อบต.ห้วยบง
     นับได้ว่า ได้คุณประโยชน์มากเลยทีเดียวสำหรับโครงการนี้ อีกทั้งยังได้เพิ่มแหล่งท่องเที่ยวขึ้นมาอีก 1 แห่งทำให้พื้นที่บริเวณใกล้เคียงได้พัฒนาไปด้วยจากธุรกิจท่องเที่ยวในอนาคต (คาดว่าราคาที่ดินโดยรอบต้องพุ่งขึ้นแน่ๆ) นักท่องเที่ยวท่านใดสนใจไปชมความสวยงาม ใหญ่ยักษ์ของทุ่งกังหันลม ปัจจุบันยังไม่มีรถโดยสาร ต้องเดินทางด้วยรถส่วนตัวเท่านั้น ต้องไปให้เห็นกับตา จะได้พบว่า สิ่งที่มนุษย์สร้างนี่ มันยิ่งใหญ่จริงๆ 

ขอบคุณข้อมูลจาก 
http://www.windenergyholding.co.th/
http://www.paijam.com/
http://www.prachatalk.com/

ปากช่องเพียง 51 กิโลเมตร เนื่องจากพื้นที่อยู่ติดรอยต่อของอำเภอปากช่องและสีคิ้ว และลำสนธิ ไปยังป่าซับลังกาเพียง 32 กิโลเมตรและเที่ยวชมทุ่งดอกกระเจียวเพียง 40 กิโลเมตร และหากท่านต้องการไปเที่ยวยังวัดหลวงพ่อคูณ เพียง 45 กิโลจาก บ้านไร่จอมทองรีสอร์ท

วัดบ้านไร่ (วัดหลวงพ่อคูณ)

วัดบ้านไร่ (วัดหลวงพ่อคูณ)

          วัดบ้านไร่ (วัดหลวงพ่อคูณ)  ตั้งอยู่ใน ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา มีชื่อเสียงเนื่องจากมีหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เป็นเจ้าอาวาส  กับภาพที่เห็นกันชินตา พระเกจิอาจารย์ชื่อดังรูปหนึ่ง ถือกิ่งไม้ขนาดเล็กๆ ในมือ เดินเคาะศีรษะลูกศิษย์ลูกหาที่เลื่อมใสศรัทธา ไม่เว้นแม้แต่นักการเมือง ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ก็ต้องมาให้ท่านเคาะหัวให้ เพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นที่เคารพศรัทธาของคนทั้งประเทศ   จึงทำให้วัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปด้วย
          หลวงพ่อคูณ เป็นพระชาวบ้านที่เข้าถึงมวลชนทุกระดับชั้น ตั้งแต่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน นักการเมืองไปจนถึงชาวบ้าน ด้วยท่านมีเมตตามหานิยม มีวิธีการสั่งสอนที่ตรงไปตรงมาง่ายแก่การเข้าใจ
          วัดบ้านไร่เดิมเป็นสำนักสงฆ์เล็กๆ ที่มีมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2436 ในช่วงรัชกาลที่ 5 โดยมีพระอาจารย์เชื่อม วิรโธ เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกได้มีการก่อสร้างศาสนอาคารต่างๆ ขึ้น  และมีพระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ) เป็นเจ้าอาวาสปัจจุบัน
          หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ   เป็นชาวบ้านไร่  ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมาโดยกำเนิด ได้ถือกำเนิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2466 (บางตำราว่าวันที่ 4 ตุลาคม) ตรงกับวันแรม 10 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน ในครอบครัวของชาวไร่ชาวนา   สมัยที่หลวงพ่อคูณอยู่ในวัยเยาว์ 6-7 ขวบ ได้เข้าเรียนหนังสือ กับพระอาจารย์เชื่อม วิรโธ  ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น กับ พระอาจารย์ฉาย และพระอาจารย์หลี โดยเรียนทั้งภาษาไทย และภาษาขอม ที่วัดบ้านไร่นี่เอง และถือว่าเป็นสถานการศึกษาแห่งเดียวในหมู่บ้าน มิได้มีโรงเรียนทำการสอนเช่นในสมัยปัจจุบัน นอกจากเรียนภาษาไทยและขอมแล้ว พระอาจารย์ทั้ง 3 ยังมีเมตตาอบรมสั่งสอนวิชา คาถาอาคม เพื่อป้องกันอันตรายต่าง ๆ ให้แก่หลวงพ่อคูณด้วย นับว่าหลวงพ่อคูณรู้วิชาไสยศาสตร์มาแต่เยาว์วัย

        
หลวงพ่อคูณได้อุปสมบท เมื่ออายุได้ 21 ปี ณ พัทธสีมาวัดถนนหักใหญ่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2487  (หนังสือบางแห่งว่า ปี 2486) ตรงกับวันศุกร์ เดือน 6 ปีวอก โดยพระครูวิจารย์ดีกิจ อดีตเจ้าคณะอำเภอด่านขุนทด เป็นพระอุปัชฌาย์ พระกรรมวาจาจารย์ คือพระอาจารย์สุข วัดโคกรักษ์ หลวงพ่อคูณได้รับฉายาว่า ปริสุทโธ
          หลังจากที่หลวงพ่อคูณอุปสมบทเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล้ว ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อแดง วัดบ้านหนองโพธิ์ ต.สำนักตะคร้อ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา  (บางตำรากล่าวว่าเมื่อบรรพชาแล้วได้เล่าเรียนกับหลวงพ่อคง ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดถนนหักใหญ่ก่อน แล้ว หลวงพ่อคงจึงนำไปฝากกับหลวงพ่อแดง)

        
  เวลาล่วงเลยนานพอสมควร กระทั่งหลวงพ่อคงเห็นว่า ลูกศิษย์ของตนมีความรอบรู้ชำนาญการปฏิบัติธรรมดีแล้ว จึงแนะนำให้ออกธุดงค์จาริกไปตามป่าเขาลำเนาไพร ฝึกปฏิบัติธรรมเบื้องสูงต่อไป แรก ๆ หลวงพ่อคูณก็ธุดงค์ จาริกอยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา จากนั้นจึงจาริกออกไปไกล ๆ กระทั่งถึงประเทศลาว และประเทศเขมร มุ่งเข้าสู่ป่าลึก เพื่อทำความเพียรให้เกิดสติปัญญา เพื่อการหลุดพ้น จากกิเลส ตัณหา และอุปทานทั้งปวง

เส้นทางธุดงค์ของหลวงพ่อคูณ
          หลังจากที่พิจารณาเห็นสมควรแก่การปฏิบัติแล้ว หลวงพ่อคูณจึงออกเดินทางจากประเทศเขมรสู่ประเทศไทย เดินข้ามเขตด้านจังหวัดสุรินทร์ สู่จังหวัดนครราชสีมา กลับบ้านเกิดที่บ้านไร่  และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ในเวลาต่อมา  จากนั้นจึงเริ่มดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุทาง พระพุทธศาสนา ในช่วงที่หลวงพ่อคูณเป็นเจ้าอาวาส วัดบ้านไร่ได้มีการพัฒนามากที่สุด โดยเริ่มสร้างอุโบสถ พ.ศ.2496  โดยชาวบ้านได้ช่วยกันเข้าป่าตัดไม้ ซึ่งในสมัยก่อนมีอยู่มาก การตัดไม้ในสมัยนั้น ไม่ค่อยสะดวกนัก เพราะไม่มีเครื่องจักร ไม่มีถนน กว่าจะได้ไม้ที่เลื่อยแปรสภาพสำเร็จแล้ว ต้องเผชิญกับการขนย้ายที่ยากลำบาก โดยอาศัยโคเทียมเกวียนบ้าง ใช้แรงงานคนลากจูง บนทางที่แสนทุรกันดาร เนื่องจากถนนทางเกวียนนั้นเป็นดินทรายเสียส่วนใหญ่ เมื่อต้องรับน้ำหนักมากก็มักทำให้ล้อเกวียนจมลงในทราย การชักจูงไม้แต่ละเที่ยวจึงต้องใช้เวลาถึง 3-4 วัน
        ภาพซ้าย ภาพจำลองการก่อสร้างพระอุโบสถ      ภาพขวา พระอุโบสถเมื่อสร้างเสร็จแล้ว
          แต่กระนั้นหลวงพ่อก็สามารถนำชาวบ้านช่วยกันสร้างพระอุโบสถจนสำเร็จ (ปัจจุบันได้รื้อลงแล้ว และก่อสร้างหลังใหม่แทน) นอกจากสร้างพระอุโบสถแล้ว หลวงพ่อยังสร้างโรงเรียน กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ รวมทั้งขุดสระน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค ยังความสะดวกสบาย และความเจริญในบ้านไร่ยิ่งนัก แม้ปัจจุบันจะไม่ได้เห็นสิ่งดังกล่าว เนื่องจากหลวงพ่อได้เปลี่ยนสิ่งก่อสร้างดังกล่าวทั้งหมด มาเป็นปูนเป็นอิฐให้สวยงามและทนทานยิ่งขึ้น

          นอกจากการก่อสร้างอุโบสถแล้ว หลวงพ่อคูณยังสร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ขุดสระน้ำไว้เพื่ออุปโภคและบริโภค และที่สำคัญยังสร้างโรงเรียนไว้เพื่อเด็กบ้านไร่อีกด้วย นอกเหนือจากนั้น ด้วยมีผู้ศรัทธาจากทั่วประเทศได้ร่วมถวายวัตถุปัจจัยเป็นเงินมหาศาล หลวงพ่อยังได้นำเงินบริจาคต่างๆ ที่ได้มา ก่อตั้งเป็นมูลนิธิหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เพื่อกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่างๆ เช่น สร้างโรงพยาบาล โรงเรียน หอสมุด เป็นต้น
ปัจจุบัน วัดบ้านไร่  ได้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา มีพุทธศาสนาสนิกชนเป็นจำนวนมาก เดินทางมาที่วัดบ้านไร่แห่งนี้ เพื่อสักการะหลวงพ่อคูณ และหวังจะให้หลวงพ่อคูณเคาะหัวเพื่อเป็นศิริมงคลซักครั้ง
          สำหรับท่านที่จะมาเที่ยววัดบ้านไร่ เนื่องจากวัดนั้นมีขนาดพื้นที่ไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นสิ่งปลูกสร้างใหม่ และกำลังอยู่ในช่วงก่อสร้าง ทาง KHAOYAIZONE  จึงได้ขอเป็นไกด์นำเที่ยวในครั้งนี้ โดยเริ่มต้นจาก
1.      พระอุโบสถ ที่เป็นทั้งโบสถ์และศาลาการเปรียญในศาสนสถานเดียวกัน สวยงาม ทั้งในเรื่องของวัสดุ ลวดลายแกะสลัก และประโยชน์ต่อการใช้สอย และเป็นที่จำพรรษาของหลวงพ่อคูณด้วย โดยพระอุโบสถนั้นแบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นบนเป็นโบสถ์ และชั้นล่างเป็นศาลาการเปรียญ ซึ่งชั้นล่างนี้จะเป็นสถานที่ที่ลูกศิษย์ลูกหา และนักท่องเที่ยวที่ต้องการจะสักการะหลวงพ่อคูณ สามารถเข้าสักการะได้ที่นี่
พระอุโบสถ ยิ่งใหญ่ และสวยงาม

ภายในสร้างด้วยหินอ่อน เย็นสบาย หลังกระจกสีดำคือ ห้องจำพรรษาของหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ

ในช่วงที่หลวงพ่อคูณ ท่านออกมาเคาะหัวให้ลูกศิษย์ เค้าห้ามถ่ายรูป ก็เลยขอนำรูปจากเว็ปอื่นมาให้ชมนะครับ (ผมไม่กล้า)

2.    ศาลาปริสุทธาร   ศาลาน้ำมนต์เพื่อเป็น “ปริสุทธาร” สายน้ำอันบริสุทธิ์ซึ่งปลุกเสกโดยหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เพื่อให้เป็นสายอุทกธารที่เป็นสิริมงคล สุขกาย เย็นใจ บังเกิดความร่มเย็นเป็นสุขแก่พุทธศาสนิกชนทุกคน

3.    พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ  แฝงธรรม"ยิ่งสละ-ยิ่งได้"
          พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ ตั้งอยู่ที่ศาลาการเปรียญ (หลังเดิม) ณ วัดบ้านไร่ จัดสร้างขึ้นเพื่อนำเสนอเรื่องราวชีวประวัติของหลวงพ่อคูณ ตั้งแต่เยาว์วัย การอุปสมบทเป็นพระภิกษุ วัตรปฏิบัติในสมณะเพศที่ถือสันโดษและเป็นพระนักพัฒนา แรงศรัทธามหาชนที่มีต่อหลวงพ่อคูณ รวมทั้งการบริจาคทานจำนวนมหาศาล เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ให้แก่ประชาชนทั่วทุกภูมิภาคของประเทศและบางส่วนใน ต่างประเทศ  การจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ได้สะท้อนเรื่องราวต่างๆ ผ่านภาพจิตรกรรมที่สร้างสรรค์ขึ้น บอกเล่าภาพชีวิตในอดีต สิ่งของเครื่องใช้จำนวนมากมาย ซึ่งผู้มีจิตศรัทธานำมาถวาย อัฐบริขารและเครื่องใช้จำเป็นในการครองสมณะเพศ  การจัดทำภาพเสมือนจริงที่จำลองบรรยากาศการออกธุดงค์ของหลวงพ่อคูณ แสดงให้เห็นถึงบารมีธรรมอันยิ่งใหญ่ ประติมากรรมที่สื่อถึงผลบุญของการให้ทานอันเป็นวัตรปฏิบัติสำคัญของหลวงพ่อ มหาทานของหลวงพ่อคูณที่ได้บริจาคเงินจำนวนมหาศาล เพื่อสาธารณประโยชน์  นอกจากนี้ยังมีการแสดงพินัยกรรมของหลวงพ่อคูณ เนื่องจากหลวงพ่อฯ ได้บริจาคร่างกายเพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษา แสดงให้เห็นถึงความ แน่วแน่ในวิถีสันโดษอันเป็นวัตรปฏิบัติที่หลวงพ่อคูณได้ยึดถือมาตลอด  ทั้งนี้ พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อคูณ แบ่งเป็น 2 ชั้น 11 โซน  ส่วนรายละเอียดในแต่ละโซน มีดังนี้
          โซน 1 ศรัทธามหาชน จัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งหลวงพ่อคูณท่านั่งยองๆ ขนาดเท่าจริง มีภาพจิตรกรรมและแสดงภาพประชาชนจากภาคต่างๆ มากราบนมัสการหลวงพ่อ มีบอร์ดกราฟิกเรื่อง เอกลักษณ์หลวงพ่อคูณ อาทิ การนั่งยอง รับปัจจัยใบเดียว เหยียบโฉนด เคาะหัว วัตถุมงคล เป็นต้น

ตู้จัดแสดงสิ่งของที่ผู้มีจิตศรัทธานำมาถวายหลวงพ่อ ภายใต้หัวข้อ "กูทำดี เขาจึงให้ของ ดีแก่กู"
โซน 2 ภิกษุสมถะแห่งดินแดนอีสาน จัดแสดงสิ่งของจำลองบรรยากาศเหมือนห้องนอนเดิมของหลวงพ่อ พร้อมเสียงบรรยาย มีบอร์ดเล่าเรื่อง "ธรรมะข้างบันได" และภาพแสดงในหัวข้อ เทพเจ้าแห่งที่ราบสูง แบบอย่างของผู้บำเพ็ญทานบารมี
โซน 3 กำเนิดผู้มีบุญ จัดแสดงหุ่นจำลอง ประกอบเทคนิคแสงเสียง ตอนโยมแม่ฝันเห็นดวงแก้ว อันเป็นนิมิตหมายอันดีของผู้มีบุญที่กำลังจะถือกำเนิด และภาพจิตรกรรม กำเนิดผู้มีบุญ
โซน 4 ตั้งจิตช่วยคนพ้นทุกข์ จัดแสดงภาพจิตรกรรมเมื่อครั้งที่หลวงพ่อได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ และตั้งจิตปณิธานช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์
โซน 5 ออกธุดงค์ จัดแสดงหุ่นจำลองย่อส่วนประกอบเทคนิคภาพเคลื่อนไหวและแสงเสียง จำลองเหตุการณ์เทศนาโปรดสัมภเวสี เมื่อครั้งออกธุดงค์ ในช่วงปี พ.ศ.2492-2495 และบอร์ดกราฟิก "จาริกบุญ จาริกธรรม" นำเสนอเรื่องเส้นทางธุดงค์ 3 ประเทศ ไทย-ลาว-เขมร
โซน 6 พัฒนาวัดบ้านไร่ จัดแสดงหุ่นจำลองย่อส่วน 4 เหตุการณ์ ได้แก่ หลวงพ่อคูณสร้างโบสถ์ไม้เพื่อใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจของพระลูกวัด, หลวงพ่อคูณนำชาวบ้านขุดสระน้ำเพื่อเป็นที่เก็บน้ำไว้ใช้หน้าแล้ง, หลวงพ่อคูณปีนขึ้นเจิมป้ายโรงเรียนวัดบ้านไร่เพื่อความเป็นสิริมงคล และหลวงพ่อคูณใช้ยอดสากตำมวลสารศักดิ์สิทธิ์ นำมาสร้างพระเครื่องให้ศิษยานุศิษย์ได้บูชา มีบอร์ดแสดงภาพของการพัฒนาวัดบ้านไร่
โซน 7 ทำบุญกับพระเจ้าอยู่หัว ประมวลภาพพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ การจัดแสดงวัตถุอันเป็นที่ระลึก วีดิทัศน์ประมวลภาพพระมหากรุณาธิคุณ
โซน 8 มรดกทาน มรดกธรรม จัดแสดงรูปหล่อสำริดหลวงพ่อคูณท่านั่ง วิปัสสนา การจัดแสดงวัตถุอันเป็นที่ระลึกถึงคุณูปการ เกียรติคุณของหลวงพ่อคูณที่ได้รับการเชิดชูยกย่องจากหน่วยงาน สถาบันและองค์กรต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ รวมทั้งข้อความในพินัยกรรม (มรณานุสติ)

โซน 9 ทานบารมีทวีคูณ แสดงงานกราฟิกบนประติมากรรมต้นไม้แห่งทานบารมี วีดิทัศน์ประมวลภาพคอมพิวเตอร์ แสดงข้อมูลเรื่องการบริจาคทานของหลวงพ่อคูณในด้านต่างๆ
โซน 10 เครื่องยึดเหนี่ยวใจใฝ่ทำดี มีตู้จัดแสดงวัตถุมงคลรุ่นต่างๆ คอมพิวเตอร์เพื่อค้นคว้า สำหรับให้ผู้ชมได้อ่านข้อมูลวัตถุมงคลรุ่นต่างๆ ที่ได้รวบรวมไว้

โซน 11 ให้แล้วรวย จัดแสดงวีดิทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับการทำบุญทำทาน ซึ่งเป็นภาพที่พบเห็นคุ้นตาในวิถีชีวิตของคนไทยเมื่อไปทำบุญ สอดแทรกคำสอนของหลวงพ่อคูณที่พูดถึงการทำบุญมาเป็นประโยคปิดท้ายในแต่ละช่วง ประติมากรรมต้นไม้แผ่ความรวย สื่อความหมายถึงการงอกงามของบุญกุศลที่ผู้มีจิตศรัทธาทุกคนได้ร่วมสร้างกับ หลวงพ่อคูณ นอกจากนี้ ได้จัดแสดงผนังภาพ "๙ บุญคูณลาภ" แนะนำจุดทำบุญภายในวัดบ้านไร่ 9 แห่ง เพื่อความเป็นสิริมงคล หลังจากได้ชมพิพิธภัณฑ์แล้ว และตู้หยอดเหรียญที่ระลึกของพิพิธภัณฑ์
          ตัวอาคารของพิพิธภัณฑ์นั้น เป็นสถาปัตยกรรมยุคกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานและอุทยานธรรมแก่อนุชนคนรุ่นหลังได้ใช้เป็นที่ปฏิบัติ และศึกษาคำสอนในพระพุทธศาสนาต่อไป" และเป็นสถานที่ที่ได้จารึกตำนานของหลวงพ่อคูณ เพื่อเป็นแบบอย่างให้สาธุชนได้เจริญรอยตามปณิธานแห่งทาน บารมีของหลวงพ่อคูณให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน

การเดินทางไปวัดบ้านไร่ ทางรถยนต์ 
            จากกรุงเทพฯ ( ห้างฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต ) ใช้ถนนพหลโยธิน ( ทางหลวงหมายเลข 1 ) มุ่งหน้าสู่จังหวัดสระบุรี ประมาณ 75 กิโลเมตร จะถึงตัวเมืองสระบุรี เมื่อถึงตัวเมืองสระบุรีแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา ประมาณ  100 กิโลเมตร จะถึงทางแยกต่างระดับก่อนถึงอำเภอสี่คิ้ว ป้ายบอกทางถนนสาย 201 กับ ถนนสาย 24  จะเป็นทางแยกที่ให้เลือกไประหว่างอำเภอโชคชัย และไปจังหวัดชัยภูมิ ให้เลี้ยวซ้ายไปทางถนนสาย 201 จากนั้นขับตรงไปมุ่งหน้าสู่อำเภอด่านขุนทด พอถึงอำเภอด่านขุนทดให้ท่านขับตรงไปอีก จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสาย 2217 จากนั้นขับตรงไป ประมาณ 11 กิโลเมตร ก็จะถึง วัดบ้านไร่

แยกถนนมิตรภาพ ก่อนถึงสี่คิ้ว

   แยกซ้าย 2217

ป้ายและซุ้มประตูบริเวณ 3 แยกก่อนถึงเขตเข้าวัด


พิกัดวัดบ้านไร่
ละติจูด: 15.299377 , ลองจิจูด: 101.737046
ส่งท้ายด้วย

วัด หลวงพ่อคูณ ที่สีค้ิวไม่ไกลเลย นอกจากนี้ยังสามารถแวะเที่ยวถ่ายรูปได้ที่ทุ่งกังหันลม โดยไม่ไกลจากบ้านไร่จอมทองเพียง 2 กิโลเมตรการมาท่องเที่ยวในพื้นที่แถบนี้เป็นหุบเขาอากาศเย็นสบายมีลมพัดตลอดปีเนื่องจากพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1200  เมตร ณ จุดที่ชมกังหันลมริมถนน 2256 และต่ำสุดที่ 700 เมตร